บ้ายบาย…ขวดนมเพื่อนรัก
ขวดนมที่มากกว่าขวดนม..
สําหรับเด็กแล้วนั้น ขวดนมไม่ได้เป็นเพียงภาชนะในการบรรจุ น้ํานมไว้ดื่มเท่านั้น ขวดนมเป็นสิ่งมหัศจรรย์ เป็นแหล่งพักใจช่วย คลี่คลายอารมณ์ที่ว้าวุ่นในร่างกาย เป็นแหล่งอาหารทําให้อิ่ม หลับ สบาย ขวดนมมีลักษณะกลม นิ่ม คล้ายกับเต้านมของคุณแม่สิ่งที่ เด็กๆ หวงแหนที่สุด ขวดนมยังเป็นเพื่อนทําให้เด็กรู้สึกอุ่นใจเมื่อได้ ถือกอดไว้ ในขณะที่เด็กดูดนมจากขวดนมนั้น เด็กได้สร้างสาย สัมพันธ์เทียมคุณแม่ขึ้นมากับขวดนม ทําให้เด็กรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย ทั้งใจและกาย เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะพรากสิ่งที่เด็กรัก ผูกพันธ์ไปได้ในทันที หากสายสัมพันธ์นั้นแน่นแฟ้นมากหรือเลยช่วง เวลาที่เหมาะสมไป จะดีกว่าหากพ่อแม่เปิดโอกาสให้เด็กได้เตรียม
ตัว เตรียมใจก่อนที่จะบ้ายบายขวดนมเพื่อนรักของเขา
พ่อแม่จะทําอย่างไร เมื่อลูกต้องบ้ายบายขวดนม ครูปองมีเคล็ด
(ไม่) ลับกับการบ้ายบายขวดมาฝากค่ะ
– สร้างแรงจูงใจในการบ้ายบายขวดนม ไม่ว่าจะเป็นจากหนังสือ นิทาน ภาพผลเสียจากการดูดนมขวด หรือ คําพูดเสริมตัวตน (self) ให้แก่เด็ก คําว่า “เด็กโต” ก็สามารถสร้างแรงจูงใจให้เด็กอยากที่จะ บ้ายบายขวดนมได้เช่นเดียวกัน
– บอกเด็กถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ถ้าเด็กที่มีความผูกพันธ์ แน่นแฟ้นกับขวดนม แนะนําให้ทําตารางเตรียมใจ เป็นปฏิทินบ้าย บายขวดนม เพื่อทําให้เวลาเป็นรูปธรรมมากขึ้น เด็กจับต้องได้และย้ํา เตือนเด็กๆ ถึงวันที่เด็กเลือกจะบ้ายบายขวด
– แนะนําแก้วดื่มสําหรับเด็ก โดยนําแก้วมาร่วมโต๊ะอาหาร ให้เด็ก ได้จับเล่น จับดื่ม สร้างความคุ้นเคย เมื่อเด็กเริ่มคุ้นเคยใส่น้ําผลไม้ที่ เด็กชื่นชอบลงในแก้วลงในแก้ว ใส่น้ําเปล่าลงในขวดนม เพื่อสร้าง
ความประทับใจในการทําความรู้จักกับแก้วดื่มสําหรับเด็ก
-ลดโอกาสในการใช้ขวดลง โดยอาจลดจาก”จํานวนมื้อที่เด็กได้
ดื่มขวดนม ต่อวัน” โดยเริ่มเจอกันน้อยลงในช่วงระหว่างวันก่อน และ กําหนดเวลามื้อสุดท้ายของวัน เพื่อลดปริมาณนมตอนกลาวคืน หรือ ลดจากปริมาณนมในขวด ทําให้ช่วงเวลาการดูดขวดสั้นลงกว่าเดิม เพิ่มเวลาการใช้แก้วมากขึ้น พ่อแม่สามารถเปิดโอกาสให้เด็กเลือก
ปริมาณนมที่เด็กดื่มจากขวดได้เองในแต่ละวัน โดยสร้างข้อตกลงว่า ปริมาณนั้นจะต้องลดน้อยลงกว่าเดิม การที่เปิดโอกาสให้เด็กได้
เลือกเอง จะทําให้เด็กรู้สึกว่าตัวเขาเป็นคนตัดสินใจเลือกเรื่องของตัว เอง มีตัวตน (self) ซึ่งจะช่วยให้เด็กปรับตัวง่ายขึ้น
– หากเด็กใช้ขวดนมเพื่อความอุ่นใจ พ่อแม่เปลี่ยนจากขวดนม เป็นกอดและนําสิ่งของอย่างอื่นมาทดแทนใจเขาได้ ไม่ว่าจะเป็น ตุ๊กตา ผ้าอ้อม ผ้าห่ม หรือแม้แต่เสื้อคุณแม่ เพื่อช่วยเติมเต็มความ รู้สึกทางใจให้แก่เด็ก
มีงานวิจัยพบว่า เด็กที่มีผ้าห่มหรือสิ่งของนิ่มๆ (transitional object) ไว้กอดเหมือนอ้อมกอดของแม่ จะสามารถถ่ายโอนความ รู้สึกของตัวเองและปรับตัวได้ดีกว่าเด็กที่ไม่มีค่ะ
การบ้ายบายขวดนมนั้น สิ่งหนึ่งที่สําคัญไม่แพ้ใจลูก นั่นคือ ใจของ พ่อแม่ ที่พร้อมอยู่เคียงข้างลูกอย่างเข้าใจ โดยท่องไว้ในใจเสมอว่า “Kind but Firm” และใช้เทคนิคสะท้อนอารมณ์ ยอมรับความรู้สึก เพื่อช่วยลูกปลอบประโลมใจ ทําให้ลูกสามารถผ่านช่วงเวลาที่ ท้าทายนี้ได้สําเร็จ
อ้างอิง Mahalski, P. "The Reliability of Memories for Attachment to Special, Soft Objects During Childhood." Journal of the American Academy of Child Psychiatry 21, 1982, pp. 465-67.
Recent Comments
Archives
Categories
Categories
- Blog (9)