เมื่อลูกกลัว
ความกลัวเป็นสิ่งปกติ ที่เกิดขึ้นได้ตามพัฒนาการของเด็กทุกคน ในแต่ละวัยเด็กก็จะพัฒนาความกลัวที่แตกต่างกัน ในวัยทารกจะกลัวคนแปลกหน้า โตขึ้นมาหน่อย จะกลัวเสียงดัง กลัวเจ็บ กลัวสิ่งของที่มาพร้อมกับอารมณ์ตกใจหรือควบคุมไม่ได้ โตมาอีกนิด เริ่มระวังมากขึ้น และมีจินตนาการสูง ก็เริ่มที่จะกลัวความมืด กลัวสัตว์ประหลาด กลัวสิ่งที่ตามจินตนาการของตนเอง กลัวสิ่งที่เป็นอันตราย และเมื่อโตจนสามารถรับรู้ แยกโลกความจริง ออกจากจินตนาการได้ จะเริ่มประเมินสิ่งใดควรกลัว สิ่งใดที่ทำร้ายเราได้ และจะกลัวสังคม คนรอบข้างมากกว่าเรื่องจินตนาการ
พฤติกรรมของเด็กแต่ละคน เมื่อเผชิญกับความกลัว ก็จะแตกต่างกันไป บางคนร้องไห้ บางคนนิ่ง หนีห่าง บางคนหยุดเพื่อประเมินสถานการณ์ บางคนขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น บางคนใจดีสู้เสือ โดยทั่วไปแล้วพฤติกรรมที่เกิดจากความกลัวจะไม่น่าเป็นห่วงอะไร เพราะเกิดจากการที่เด็กระวังหรือกังวลใจในสิ่งที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กควบคุมไม่ได้ ทำให้ใจสั่นคลอน รู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย สมองส่วนอารมณ์ถูกกระตุ้น ในขณะนั้นสมองส่วนเหตุผลจะถูกให้หยุดชะงัก แล้วดำเนินพฤติกรรมตามอารมณ์ แล้วเด็กๆ จะเป็นอย่างไร หากผู้ใหญ่ยัดเยียดสิ่งที่กลัวนั้นให้แก่เด็กหรือปฏิเสธความกลัวของเด็กด้วยการบอกว่า “ไม่เป็นไร” “ไม่ต้องกลัวหรอก” “ไม่มีอะไรที่น่ากลัว” “กล้าๆ หน่อย” ครูปองว่า เด็กๆ คงใจสั่นไม่น้อยเลย หากเป็นเช่นนั้น
แล้วคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร เรามาติดตามกันค่ะ
เคล็ดไม่ลับ รับมือเมื่อลูกกลัว
ขั้นที่ 1 อย่างที่ทราบกันแล้วว่าความกลัวกระตุ้นสมองส่วนอารมณ์ เพราะฉะนั้น พ่อแม่ตอบสนองสมองส่วนอารมณ์ก่อนค่ะ ให้เด็กรู้สึกมั่นคง ปลอดภัยและสงบลงก่อน อาจจะด้วยการกอด จับมือ อยู่ข้างๆ กัน
ขั้นที่ 2 บอกอารมณ์ ให้เด็กรู้จักอารมณ์กลัว วิตกกังวล และเรียน
รู้ที่จะรับมือกับอารมณ์นั้น
ขั้นที่ 3 เช็คท่าทีของพ่อแม่เองนะคะ ว่าเรา “ยอมรับ” หรือ “ปฏิเสธ” ความกลัวของลูกอยู่ ระดับความกลัวของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ลูกกลัวก็คือ กลัว ค่ะ
ขั้นที่ 4 คลี่คลายความกลัว ในเด็กวัยเล็ก พ่อแม่อาจต้องช่วยเขาก่อน เพื่อให้เขารู้สึกปลอดภัย พอโตขึ้น พ่อแม่อยู่เคียงข้าง และคอยสนับสนุนให้เด็กก้าวผ่านความกลัวไปได้ พอโตอีกหน่อย เด็กเผชิญหน้ากับความกลัวเอง จำไว้นะคะ ความกลัวเกิดจากเด็ก เพราะฉะนั้น เด็กจะต้องหายกลัวด้วยตัวเขาเอง การยัดเยียดความไม่มีอะไรให้แก่เด็ก ไม่ได้ช่วยเด็กแต่อย่างใดค่ะ
พ่อแม่สามารถพูดคุย ให้เข้าใจลูกมากขึ้น เล่าประสบการณ์ของพ่อแม่ให้เด็กฟัง และรอ ค่ะ รอเด็กพร้อมที่จะเผชิญหน้าและก้าวผ่านความกลัวด้วยตัวเขาเอง
ขั้นที่ 5 สำคัญมากคือ ชม ค่ะ ไม่ว่าเด็กจะทำสำเร็จหรือไม่นั้น การชม เป็นการให้กำลังใจที่ดีมากค่ะ พ่อแม่ชมที่พฤติกรรม ความพยายาม และความกล้าหาญที่เด็กๆ มี พร้อมใส่คุณลักษณะให้แก่เด็ก สิ่งนี้จะเป็นแรงใจให้เด็กมั่นใจในตัวเองมากขึ้น พร้อมก้าวต่อไปค่ะ อย่าลืมนะ เราจะชมเด็กเมื่อเกิดพฤติกรรมนั้นจริงๆ อาจเกิดในปัจจุบัน หรือเคยเกิดมาก่อนก็ได้ค่ะ เราจะไม่ยัดเยียดความกล้าหาญให้แก่เด็กเช่นเดียวกันค่ะ
การรับมือกับอารมณ์กลัวของลูก ทำได้ง่ายๆ ค่ะ สำคัญที่ท่าทีพ่อแม่ ไม่คาดหวัง ไม่ยัดเยียด ยอมรับในอารมณ์ที่ลูกรู้สึก สิ่งที่ลูกเป็น พร้อมเสริมสร้างความมั่นคง ปลอกภัย เด็กจะค่อยๆ เข้มแข็งและผ่านความกลัวนั้นไปได้เองค่ะ แต่หากลูกกังวลใจหรือกลัวมากจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการกิน การนอน การเข้าสังคม พ่อแม่ลองหาตัวช่วย คุณหมอ ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกันช่วยคลี่คลาย
ความรู้สึกลูกกันนะคะ
ครูปอง
7 พฤษภาคม 2567
#ความกลัวเป็นสิ่งปกติ ที่เกิดขึ้นได้ตามพัฒนาการของเด็กทุกคน ในแต่ละวัยเด็กก็จะพัฒนาความกลัวที่แตกต่างกัน ในวัยทารกจะกลัวคนแปลกหน้า โตขึ้นมาหน่อย จะกลัวเสียงดัง กลัวเจ็บ กลัวสิ่งของที่มาพร้อมกับอารมณ์ตกใจหรือควบคุมไม่ได้ โตมาอีกนิด เริ่มระวังมากขึ้น และมีจินตนาการสูง ก็เริ่มที่จะกลัวความมืด กลัวสัตว์ประหลาด กลัวสิ่งที่ตามจินตนาการของตนเอง กลัวสิ่งที่เป็นอันตราย และเมื่อโตจนสามารถรับรู้ แยกโลกความจริง ออกจากจินตนาการได้ จะเริ่มประเมินสิ่งใดควรกลัว สิ่งใดที่ทำร้ายเราได้ และจะกลัวสังคม คนรอบข้างมากกว่าเรื่องจินตนาการ
พฤติกรรมของเด็กแต่ละคน เมื่อเผชิญกับความกลัว ก็จะแตกต่างกันไป บางคนร้องไห้ บางคนนิ่ง หนีห่าง บางคนหยุดเพื่อประเมินสถานการณ์ บางคนขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น บางคนใจดีสู้เสือ โดยทั่วไปแล้วพฤติกรรมที่เกิดจากความกลัวจะไม่น่าเป็นห่วงอะไร #เพราะเกิดจากการที่เด็กระวังหรือกังวลใจในสิ่งที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กควบคุมไม่ได้ #ทำให้ใจสั่นคลอน #รู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย #สมองส่วนอารมณ์ถูกกระตุ้น ในขณะนั้นสมองส่วนเหตุผลจะถูกให้หยุดชะงัก แล้วดำเนินพฤติกรรมตามอารมณ์ แล้วเด็กๆ จะเป็นอย่างไร #หากผู้ใหญ่ยัดเยียดสิ่งที่กลัวนั้นให้แก่เด็กหรือปฏิเสธความกลัวของเด็กด้วยการบอกว่า “ไม่เป็นไร” “ไม่ต้องกลัวหรอก” “ไม่มีอะไรที่น่ากลัว” “กล้าๆ หน่อย” ครูปองว่า เด็กๆ คงใจสั่นไม่น้อยเลย หากเป็นเช่นนั้น
แล้วคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร เรามาติดตามกันค่ะ
เคล็ดไม่ลับ รับมือเมื่อลูกกลัว
ขั้นที่ 1 อย่างที่ทราบกันแล้วว่าความกลัวกระตุ้นสมองส่วนอารมณ์ เพราะฉะนั้น #พ่อแม่ตอบสนองสมองส่วนอารมณ์ก่อนค่ะ ให้เด็กรู้สึกมั่นคง ปลอดภัยและสงบลงก่อน อาจจะด้วยการกอด จับมือ อยู่ข้างๆ กัน
ขั้นที่ 2 #บอกอารมณ์ ให้เด็กรู้จักอารมณ์กลัว วิตกกังวล และเรียนรู้ที่จะรับมือกับอารมณ์นั้น
ขั้นที่ 3 #เช็คท่าทีของพ่อแม่เองนะคะ ว่าเรา “ยอมรับ” หรือ “ปฏิเสธ” ความกลัวของลูกอยู่ ระดับความกลัวของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ลูกกลัวก็คือ กลัว ค่ะ
ขั้นที่ 4 #คลี่คลายความกลัว ในเด็กวัยเล็ก พ่อแม่อาจต้องช่วยเขาก่อน เพื่อให้เขารู้สึกปลอดภัย พอโตขึ้น พ่อแม่อยู่เคียงข้าง และคอยสนับสนุนให้เด็กก้าวผ่านความกลัวไปได้ พอโตอีกหน่อย เด็กเผชิญหน้ากับความกลัวเอง จำไว้นะคะ #ความกลัวเกิดจากเด็ก เพราะฉะนั้น #เด็กจะต้องหายกลัวด้วยตัวเขาเอง การยัดเยียดความไม่มีอะไรให้แก่เด็ก ไม่ได้ช่วยเด็กแต่อย่างใดค่ะ
พ่อแม่สามารถ#พูดคุย ให้เข้าใจลูกมากขึ้น #เล่าประสบการณ์ของพ่อแม่ให้เด็กฟัง และ #รอ ค่ะ รอเด็กพร้อมที่จะเผชิญหน้าและก้าวผ่านความกลัวด้วยตัวเขาเอง
ขั้นที่ 5 สำคัญมากคือ #ชม ค่ะ ไม่ว่าเด็กจะทำสำเร็จหรือไม่นั้น การชม เป็นการให้กำลังใจที่ดีมากค่ะ #พ่อแม่ชมที่พฤติกรรม ความพยายาม และความกล้าหาญที่เด็กๆ มี พร้อมใส่คุณลักษณะให้แก่เด็ก สิ่งนี้จะเป็นแรงใจให้เด็กมั่นใจในตัวเองมากขึ้น พร้อมก้าวต่อไปค่ะ อน่าลืมนะ #เราจะชมเด็กเมื่อเกิดพฤติกรรมนั้นจริงๆ อาจเกิดในปัจจุบัน หรือเคยเกิดมาก่อนก็ได้ค่ะ #เราจะไม่ยัดเยียดความกล้าหาญให้แก่เด็กเช่นเดียวกันค่ะ
การรับมือกับอารมณ์กลัวของลูก ทำได้ง่ายๆ ค่ะ สำคัญที่ท่าทีพ่อแม่ ไม่คาดหวัง ไม่ยัดเยียด ยอมรับในอารมณ์ที่ลูกรู้สึก สิ่งที่ลูกเป็น พร้อมเสริมสร้างความมั่นคง ปลอกภัย เด็กจะค่อยๆ เข้มแข็งและผ่านความกลัวนั้นไปได้เองค่ะ แต่หากลูกกังวลใจหรือกลัวมากจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการกิน การนอน การเข้าสังคม พ่อแม่ลองหาตัวช่วย คุณหมอ ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกันช่วยคลี่คลายความรู้สึกลูกกันนะคะ
ครูปอง
7 พฤษภาคม 2567
#พ่อแม่พลังบวก ,#การเลี้ยงดูเชิงบวก, #เลี้ยงลูกเชิงบวก, #จิตวิทยาเด็ก,#วินัยเชิงบวก,#แม่และเด็ก,#ครอบครัว ,#kids, #children, #PositiveParentingTH,#พ่อแม่พลังบวกเดอะเรียลลิตี้,#สมาธิ #เลี้ยงลูก ,#หลักการเลี้ยงดูเชิงบวก, #เทคนิควินัยเชิงบวก ,#กองทุนสื่อ #Thaimediafund,#สื่อสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม,#กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ #ความกลัว, #เอาชนะความกลัว, #ฝังใจ, #ฝึกขี่จักรยาน,
#โอบกอดอารมณ์, #ยอมรับความรู้สึก, #เบี่ยงเบนความสนใจ,
#เติมใจฟู, #ชม, #compliment
ติดตาม “กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” ได้ที่
Website : www.thaimediafund.or.th
Facebook : https://www.facebook.com/ThaiMediaFundOfficial
Youtube : www.youtube.com/c/ThaiMediaFund
Line Official : @thaimediafund
Recent Comments
Archives
Categories
Categories
- Blog (9)